PhillipCapital PhillipCapital Your Partner in Investment

poems poems

ศูนย์การเรียนรู้
ซื้อประกันลดหย่อนภาษี ได้ผลตอบแทนจริง ๆ เท่าไหร่?


ซื้อประกันลดหย่อนภาษี ได้ผลตอบแทนจริง ๆ เท่าไหร่?

 
นี่ก็ย่างเข้าเดือนกรกฎาคม และพึ่งผ่านพ้นช่วงของการยื่นภาษีมาหมาด ๆ เพื่อน ๆ หลายคนคงต้องจ่ายภาษีกันไม่น้อยเลยทีเดียว ด้วยภาระภาษีที่ต้องจ่ายไปเมื่อเดือนที่ผ่านมานี้เอง ทำให้ Mr.Phillip เชื่อว่า หลายท่านคงเริ่มคิดถึงเรื่องของการลดหย่อนภาษีกันขึ้นมาบ้าง
 
พอพูดถึงเรื่องของการลดหย่อนภาษี คงหนีไม่พ้นผลิตภัณฑ์การเงินสุดฮิต นั่นก็คือ “ประกันสะสมทรัพย์” ซึ่งให้ผลตอบแทนที่คงที่และแน่นอน แถมยังได้รับความคุ้มครองอีกด้วย ซึ่งหากต้องการคิดผลตอบแทนของการซื้อประกันเพื่อการลดหย่อนภาษีจริง ๆ อาจจะต้องคิดจากผลตอบแทนที่ได้จากตัวประกันเอง และภาษีที่สามารถลดหย่อนได้ควบคู่กัน

ดังนั้น วันนี้เราจะมาลองคำนวนผลตอบแทนของประกันแบบหนึ่งโดยรวมสิทธิลดหย่อนภาษีกันดูว่า ตลอดโครงการออมเงินของคนแต่ละฐานภาษี คิดกลับมาเป็นผลตอบแทนได้เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ โดยผมขออนุญาตยกตัวอย่าง

ผู้ชายอายุ 25 ปี ทำประกันสะสมทรัพย์ ชำระเบี้ยประกัน 100,000 บาท ต่อปี ชำระเบี้ยประกัน 20 ปี คุ้มครอง 20 ปี เลือกไม่รับเงินคืนตามสัญญา ทำให้ครบสัญญาได้เงินคืนเป็นเงิน 2,238,314.71 บาท และเอาภาษีเงินได้ลงทุนกองทุนกับฟิลลิป โดยสมมติ ได้รับผลตอบแทน 1.6% ต่อปี แล้วรับกลับพร้อมกับเงินครบสัญญาเลยครับ

การคำนวนผลตอบแทนที่ได้จากการลดหย่อนภาษีจริง ๆ นั้นไม่ได้ได้คิดง่าย ๆ อย่างการเอาเบี้ยประกันคูณด้วยฐานภาษีนะครับ เพราะจริง ๆ แล้วผลตอบแทนที่ได้จากการลดหย่อนภาษีจะ “ลดลงทุกปี” นั่นก็เพราะเพื่อน ๆ มีการ “จ่ายเบี้ย” เพิ่มเข้าไปทุกปี หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เงินต้นเพื่อน ๆ เพิ่มขึ้นครับ ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น

ณ ฐานภาษี 10%

ปีที่ 1 จ่ายเบี้ยรวมไป 100,000 บาท ได้สิทธิลดหย่อนภาษี 10,000 บาท
ปีที่ 2 จ่ายเบี้ยเพิ่มอีก 100,000 บาท เป็นเบี้ยรวม 200,000 บาท แต่สิทธิลดหย่อน ณ ปีที่ 2 ยังได้ 10,000 บาทเหมือนเดิม

แต่คิดแบบนี้ก็อาจจะไม่ถูกต้องนัก ดังนั้น ลองมาคิดเป็นผลตอบแทนแบบทบต้น โดยใช้การคำนวณผลตอบแทนโครงการเข้ามาจับ จากกรณีข้างต้น จะพบว่า ผลตอบแทนของแบบประกันนี้ ณ ฐานภาษี 5, 10, 15, 20, 25, 30, 35 เปอร์เซ็นต์ จะเป็น 1.53%, 1.98%, 2.40%, 3.18%, 3.54%, 3.88% ตามลำดับ พอเห็นตัวเลขผลตอบแทนจริง ๆ แล้ว เชื่อว่าหลายคนคงตกใจกันอยู่ไม่น้อย อย่าพึ่งตกใจครับ เพราะถ้าดูเป็นจำนวนเงิน จะประหยัดภาษีได้รวมตั้งแต่ 100,000 บาท ไปจนถึง 700,000 บาท ขึ้นกับฐานภาษีเลย

ต้องถือว่าไม่แย่เลยนะครับ หากคิดว่าเป็นผลตอบแทนที่ความเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องลุ้นกับความผันผวน และที่สำคัญที่ได้เพิ่มมาอีกอย่างคือ แก่นของประกัน นั่นก็คือความคุ้มครองนั่นเองครับ ซึ่งในการทำประกัน Mr.Phillip อยากให้มองประกันในเรื่องของการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน เช่น ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้าย ประกันชีวิต ฯลฯ ให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงมองต่อไปถึงเรื่องของการออม นั่นก็เพราะ ประกันมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเอาไว้บริหารความเสี่ยงทางการเงิน แต่ถ้าใครสามารถรับความเสี่ยงทางการเงินเองได้ อยากใช้ออมเงินอย่างเดียวเลยก็ไม่ว่ากันครับ

สนใจปรึกษาการวางแผนการเงิน วางแผนภาษี คุยกับผู้แนะนำการลงทุนของเราได้ครับ
แจ้งรายละเอียดให้ติดต่อกลับที่ : https://forms.gle/Vv2hxT6ZjCNFRrwh9