PhillipCapital Your Partner in Investment

poems poems

ศูนย์การเรียนรู้
สาระน่ารู้ 4 รูปแบบการลงทุน

 

 
การลงทุนเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ แต่ก็ยังมีนักลงทุนมือใหม่หลายคนยังไม่เข้าใจ กองทุนที่สนใจหรือกำลังลงทุนอยู่มีรูปแบบการลงทุนอย่างไร การทำความเข้าใจจะช่วยให้รับรู้ได้ถึงข้อดีของรูปแบบนั้นๆ ช่วยบริหารการลงทุน ลดความคาดหวัง อยู่กับพื้นฐานความเป็นจริง และเข้าใจความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่ลงทุนอยู่

4 รูปแบบดังกล่าวจะแบ่งเป็น 2 หัวข้อหลักๆ คือ
การลงทุนเชิงรับ vs เชิงรุก และ การลงทุนเน้นเติบโต vs การลงทุนเน้นเพิ่มมูลค่า  
 
การลงทุนเชิงรุก (Active) vs การลงทุนเชิงรับ (Passive)
 
การลงทุนเชิงรุก (Active)
 
การลงทุนเชิงรุกมีหลักการง่ายๆ (แต่ทำได้ยาก) คือทำให้ได้เหนือกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด สร้างความได้เปรียบเหนือความผันผวนที่เกิดในระยะเวลาสั้น เป็นวิธีที่ต้องใช้การวิเคราะห์และความเชี่ยวชาญเพื่อปรับเปลี่ยน หุ้น ตราสารหนี้ หรือสินทรัพย์ใดๆ ก็ได้ผลตอบแทนสูงในระยะสั้นและระยะยาวตามที่ตั้งเป้าไว้
 
สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนักลงทุนเชิงรุกคือความรวดเร็ว ความมั่นใจ เพราะต้องรู้ว่าเวลาไหนควรซื้อ เวลาไหนควรขาย สามารถทำการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ ถูกต้อง รวมถึงถึงไม่เสียกำลังใจ เพราะความผิดพลาดอยู่คู่มนุษย์ทุกคน
 
จุดเด่น

การลงทุนรูปแบบนี้ให้ความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนสินทรัพย์ในพอร์ตได้ทันที ไม่ต้องใช้เวลาวัดผลนาน และการลงทุนแบบนี้สามารถหลีกเลี่ยงการเสียเงินทุนได้สะดวกว่า (Hedge)
 
ความท้าทาย

การลงทุนเชิงรุกจะมีความเสี่ยงที่สูง เพราะถึงแม้จะมีการหาข้อมูล วิเคราะห์ และตัดสินใจได้ตรงตามเป้าหมายแค่ไหน แต่ก็ไม่มีใครที่สามารถวิเคราะห์ตลาดได้อย่างแม่นยำ 100% อาจทำให้สูญเสียเงินต้นได้
 
การลงทุนเชิงรับ (Passive)
 
หลักการการลงทุนเชิงรับคือการลงทุนระยะยาว จำกัดปริมาณการซื้อขายสินทรัพย์ภายในพอร์ต ซึ่งรูปแบบการลงทุนเชิงรับเหมาะกับการลงทุนด้วยต้นทุนจำกัดให้ได้ประสิทธิภาพ โดยเน้นค้นคว้าข้อมูล ดูความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่ต้องการ จากนั้นก็ซื้อแล้วถือยาว หลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนตามข่าวสารหรือปัจจัยภายนอกอื่นๆ
 
สิ่งสำคัญสำหรับการลงทุนเชิงรับคือ ควรหลีกเลี่ยงการปรับเปลี่ยนสินทรัพย์ในพอร์ต แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงของตลาดจะส่งผลให้อยากทำการซื้อขายเพิ่มก็ตาม
 
จุดเด่น

มีค่าใช้จ่ายน้อย การไม่ซื้อขายสินทรัพย์บ่อยๆ ก็ส่งผลดีตรงที่ มีค่าธรรมเนียมน้อย แม้ในปัจจุบันจะไม่ได้มีการเก็บค่าธรรมเนียมจริงจังก็ตาม
 
ความท้าทาย

ให้ผลตอบแทนไม่สูงมาก ซึ่งก็เป็นไปตามสภาพตลาด อาจจะได้มากกว่าในบางช่วงจังหวะ แต่โดยมากแล้วจะไม่ได้สูงจนเป็นนัยสำคัญ
 
การลงทุนเน้นเติบโต (Growth) vs การลงทุนเน้นคุณค่า (Value)
 
การลงทุนเน้นเติบโต (Growth Investment)
 
หลักของการลงทุนแบบเน้นเติบโตคือ ผลกำไร รายได้ หรือศักยภาพที่ราคาสินทรัพย์จะเพิ่มขึ้นในอนาคต มากกว่าการเลือกสินทรัพย์ที่ราคาถูก โดยมากการลงทุนเน้นเติบโตจะเน้นไปที่หุ้นหรือสินทรัพย์ที่มี P/E และ P/B สูง
 
สิ่งสำคัญสำหรับการลงทุนเน้นเติบโตคือ บริษัทที่มีโอกาสเติบโตชัดเจนด้วยผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่จัดได้ว่าเป็นนวัตกรรม เป็นสิ่งใหม่ โดยเฉพาะบริษัทสายเทคโนโลยีต่างๆ ที่เติบโตรวดเร็ว หากเป็นบริษัทชั้นนำก็ยิ่งโตเร็ว โดยถือจนกว่าราคาจะสูง และนักวิเคราะห์บางส่วนเห็นตรงกันว่าถึงจุดพีคแล้ว แต่โดยมากจะใช้เวลาหลายปี
 
จุดเด่น

การลงทุนเน้นเติบโตสิ่งที่จะได้คือ มีโอกาสสร้างผลกำไรหรือศักยภาพที่ราคาจะเพิ่มขึ้นในอนาคต มากกว่าสินทรัพย์สายเน้นคุณค่า หากเลือกสินทรัพย์ถูกตัวก็อาจจะทำกำไรได้ในช่วงเวลาที่สั้นมาก เช่นเป็นช่วงที่บริษัทที่ลงทุน คิดค้นผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ที่ยกระดับเหนือคู่แข่งได้
 
ความท้าทาย

มักจะไม่ได้รับเงินปันผลจากธุรกิจที่กำลังเติบโต เพราะบริษัทมักจะนำเงินได้ไปลงทุนเพิ่มเติมเพื่อต่อยอด หรือขยายธุรกิจให้เติบโตยิ่งกว่าเดิม
 
การลงทุนเน้นคุณค่า (Value Investment)
 
สำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่าต้องมีความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของสินทรัพย์ที่จะลงทุนได้ และต้องเป็นนักลงทุนที่สามารถลงทุนได้ในระยะยาว และอดทนรอการเติบโตของสินทรัพย์ได้
 
สิ่งสำคัญสำหรับการลงทุนเน้นคุณค่า หรือ VI คือ การเลือกหาหุ้นบริษัทที่ มีพื้นฐานกิจการดีพร้อมมีคนซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัท เติบโตต่อเนื่องสม่ำเสมอ ราคาหุ้นไม่แพง
 
จุดเด่น

สินทรัพย์หรือหุ้นที่เน้นคุณค่าจะมีการจ่ายปันผลที่ต่อเนื่อง และสอดคล้องกับการเติบโตของกิจการ การถือสินทรัพย์ยิ่งยาวก็จะยิ่งเห็นกราฟที่ค่อยไต่ขึ้นสูง
 
ความท้าทาย

การเลือกสินทรัพย์ต้องใช้ความเข้าใจสูง เนื่องจากบริษัทใหญ่บางแห่งแม้จะมีมูลค่าบริษัทสูง แต่ก็มาถึงทางตัน ไม่สามารถขยายกิจการเพิ่มได้ และการลงทุนแนวนี้ต้องใช้เวลานาน อาจไม่เหมาะกับคนที่ใจยังไม่นิ่งพอ

 
 

 
เชิญชวนเพิ่มเพื่อนบน Line กับฟิลลิป : @phillipcapital หรือคลิก https://lin.ee/ikRG3vT

 
Credit : Eric Fontinelle นักการบัญชีที่เชี่ยวชาญในธุรกิจสตาร์ทอัพและองค์กรไม่แสวงหากำไร https://bit.ly/3KRPUwb